แผนกวิจัยค้นคว้าสมุนไพร วิทยาลัยแพทย์จีน เซี่ยงไฮ้



                เจียวกู่หลาน หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ซีเย่ตั่น เป็นพืชเถาตระกูลหญ้าที่ขึ้นตามธรรมชาติ ประเภทแตงน้ำเต้า เจริญงอกงามอยู่ตามแภบภูเขาฉินหลง และเขตมลฑลทางใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียง โดยเฉพาะทางด้านตะวันตกเฉียงใต้

                เดิม เจียวกู่หลาน เป็นอาหารที่ใช้รับประทานแก้หิว ยามกระหาย ดัง จิ้วฮวงเปิ้นเฉา และ หนงจิ้งเฉวียนหู ได้บันทึกไว้ว่า ชาวบ้านใช้เป็นยาแก้ไอ และแก้ร้อนใน ต่อมาก็เริ่มมีการค้นคว้าวิจัย และพัฒนาใช้เจียวกู่หลานในการผลิตยาและเหล้า โดยรับประทานอยู่ในรูปน้ำคั้นจากเจียวกู่หลาน และยาชงเจียวกู่หลาน

                จากการศึกษาด้านคลินิค และด้านเภสัช ทั้งในประเทศจีนและต่างประเทศ พบว่าเจียวกู่หลานเป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัยใช้รับประทานประจำได้ ไม่ว่าจะใช้ทั้งต้นหรือทำการสกัดออกมา นอกจากจะประกอบด้วยสารน้ำตาลแล้ว ยังประกอบด้วยตัวยา 50 ชนิด ซึ่งมีตัวยาที่เหมือนโสมคน 4 ชนิด คือ Rb1, Rd3, Rd และ F2 รวมอยู่ด้วย

                ดังนั้นเจียวกู่หลานไม่เพียงมีคุณสมบัติเทียบเท่าโสมคนเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ได้อย่างสบายโดยไม่ต้องกังวล ต่างจากโสมคนซึ่งหากใช้เกินขีดปริมาณที่กำหนดอาจเกิดผลข้างเคียงได้ ถ้ารับประทานเจียวกู่หลานเป็นประจำ จะเสริมสร้างการรวมตัวของโปรตีนและกรดในตับ เสรีมสร้างเซลล์ไขกระดูก มีผลต่อการรักษาโรคภายในช่องอก และโรคโลหิตจาง บำรุงสมอง ระงับประสาท มีผลเพิ่มพลังต้านทานโรคที่เลวร้ายได้

                มีรายงานว่าได้มีการใช้เจียวกู่หลานรักษาผู้ป่วย โรคหลอดลมเรื้อรัง โรคหลอดเลือดแข็งตัวซึ่งทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ พบว่าใช้ได้ผลอย่างน่าพอใจ และสามารถต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และโรคกระเพาะเป็นแผลได้ นอกจากนี้ยังได้ใช้ทำการทดลองกับโรคร้ายและโรคเรื้อรัง ก็ยังไม่พบสิ่งผิดปกติ หรืออาการแพ้ใดๆ
              
                ดังนั้น เจียวกู่หลาน จึงมีสรรพคุณไม่เพียงแต่ใช้บำรุงร่างกาย ระงับประสาท ช่วยให้นอนหลับ ลดความตื่นเต้น ลดความดันโลหิต ลดคลอเรสเตอรอล ฟอสโฟไลปิด และกรดไขมันอิสระ ลดน้ำตาลในเลือด ชลอความชรา ยืดอายุของเซลล์ เพิ่มจำนวนอสุจิ และรักษาโรคปวดหัวข้างเดียว เท่านั้น ยังมีสรรพคุณในการควบคุมการแพร่ของเซลล์มะเร็ง 20 ชนิด เช่น มะเร็งช่องท้อง มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งตับอ่อน มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม เป็นต้น


                ข้อมูลการศึกษาทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาของประเทศญี่ปุ่นได้ศึกษาเจียวกู่หลานไว้ดังนี้

1. สาร Saponin 82 ชนิดที่สกัดได้จากพืชชนิดนี้ มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกได้ และยังออกฤทธิ์เป็น Antipeptic Ulcers และเป็น Metabolism impairing Antichloresteremic และ ลดความดันโลหิต

2. สาร Gypenoside ที่มีฤทธิ์เป็น Antipletelet Aggregation Effect โดยจะเพิ่มระดับ Pletelet

3. สาร Gypenoside ที่สกัดได้ สามารถใช้ป้องกันผมเป็นสีเทา และใช้ Control under arm odor ได้

4. สาร Protopanaxadiols และ Protopanaxatriols มีฤทธิ์เป็น Antitumor


ที่มา :
- แปลจากต้นฉบับของศาสตราจารย์ เฉินยุ่ยหัว แผนกวิจัยค้นคว้าสมุนไพร วิทยาลัยแพทย์จีน เซี่ยงไฮ้
- หนังสือ "จีนนิตยสารภาพ" ปีที่ 5 ฉบับที่ 54 หน้า 30-31